About Process Pump Selection

การเลือกใช้ปั๊มในกระบวนการผลิต

ปั๊มมีหลายแบบ หลายชนิด มีการทำงาน การใช้งานได้ไม่เหมือนกัน ข้อจำกัดในการทำงานและใช้งานมีไม่เหมือนกัน การเลือกใช้ชนิดของปั๊มจึงต้อใช้ความรู้ ความชำนาญ ให้ได้ปั๊มที่เหมาะสม ตามลักษณะงาน และข้อจำกัดของปั๊มแต่ละชนิด เพื่อให้ปั๊มมีการใช้งานที่มีประสิทธิภาพสูงสุด ค่าใช้จ่ายต่ำ และปลอดภัยในการใช้งาน

ปั๊มที่ใช้ในกระบวนการผลิต - Process Pump

เป็นปั๊มที่ใช้ในกระบวนการผลิต (Process system) หรือการขนส่งของไหล (Fluid) อาจจะเลือกเป็นพีดีปั๊ม (PD or Positive displacement pump) หรือเลือกเป็นปั๊มหอยโข่ง (Centrifugal pump) แล้วแต่ความเหมาะสมในการใช้งาน เช่นปริมาณการใหล (Flow) ความดัน (Pressure) อุณหภูมิ (Temperature) และความหนืด (Viscosity) และข้อจำกัดของปั๊มชนิดนั้นๆ

ปั๊มในกระบวนการผลิตและขนส่ง แยกเป็นประเภท คือ

1. ปั๊มน้ำ
ใช้ในระบบขนส่งน้ำ (Water transportation) และในระบบสาธารณูปโภค (Utility process) เนื่องจากของใหลเป็นน้ำ ไม่มีอันตราย การออกแบบจึงไม่ต้องการความปลอดภัยสูงนัก โดยทั่วไปซีลคอเพลาจะใช้แบบประเก็นเชือก (Rope gasket) หรือใช้เมคานิคอลซีลแบบซีลเดี่ยว (Single mechanical seal) น้ำจะรั่วบ้างก็ไม่อันตรายการออกแบบจะเป็นตามตามมาตรฐาน ANSI B 670 (American National Standard Institute)
2. ปั๊มในกระบวนการผลิต
2.1 ปั๊มที่ใช้ในกระบวนการผลิตทั่วๆไป (โปรเซสปั๊ม - ANSI Process pump) เป็นปั๊มที่ออกแบบให้มีความปลอดภัยสูงขึ้นมาอีกระดับหนึ่ง เพื่อใช้กับสารเคมีที่ค่อนข้างจะอันตราย แต่ไม่ไวไฟ เช่นกรด ด่าง หรือวัสดุเคมีอื่นๆที่ไม่อันตรายมากนัก ซีลคอเพลาโดยทั่วไปจะใช้แบบซีลเดี่ยว (Single mechanical seal) โดยทั่วไปจะออกแบบตามมาตรฐาน ANSI B 670.
2.2 ปั๊มที่ใช้ในกระบวนการผลิตในอุตสาหกรรมน้ำมัน ปิโตรเคมี และเคมี (โปรเซสปั๊ม - API process pump) เป็นปั๊มที่ออกแบบเพื่อป้องกันการรั่วใหลของน้ำมัน หรือแก๊ซไวไฟ เพราะการรั่วใหล จะทำให้เกิดอันตรายจากเพลิงไหม้ หรือการระเบิดได้ ซีลคอเพลาโดยทั่วไปจะใช้แบบซีลคู่ (Double mechanical seal or Tandem mechanical seal) โดยทั่วไปจะออกแบบตามมาตรฐาน API 610 (American Petroleum Institute)

ปั๊มในกระบวนการผลิตแยกเป็นกลุ่มใหญ่ ดังนี้

  1. พีดีปั๊ม (PD pump Positive displacement pump)
  2. ปั๊มหอยโข่ง (Centrifugal pump)
  3. ปั๊มที่เป็นกึ่งพีดี (Semi PD pump)

แต่ละกลุ่มยังแบ่งเป็นชนิดย่อยๆ ตามผังที่แสดง
article process pump selection

การเปลี่ยนแปลงคุณสมบัติของปั๊ม
article process pump selection

ข้อจำกัดของพีดีปั๊ม
article process pump selection

คุณสมบัติของๆไหลประเภทต่างๆ
article process pump selection

ข้อจำกัดของปั๊มแต่ละชนิด
article process pump selection

แฟคเตอร์ในการเลือกพีดีปั๊ม หรือปั๊มหอยโข่ง
article process pump selection

article process pump selection

การไหล ความเร็วรอบ ความดัน และราคาของปั๊มแต่ละชนิดเปรียบเทียบชนิดต่างๆ
article process pump selection

สมรรถนะของ พีดีปั๊ม
article process pump selection

แสดงสมรรถนะของปั๊มหอยโข่ง
article process pump selection

  • BEP Best efficiency point – จุดที่ให้ประสิทธิภาพสูงสุด
  • Duty Operating point - จุดที่ใช้งานจริง
  • System curve – ความต้านทานของระบบ

แสดงผลกระทบต่อสมรรถนะจากความหนืดของๆไหล
article process pump selection

สมรรถนะของปั๊ม – (ความดัน การไหล พลังงานที่ใช้)
article process pump selection

article process pump selection

ลักษณะปรากฎการณ์ของปั๊มหอยโข่งที่ปริมาณการไหลต่างๆกัน
article process pump selection

ปัจจัยในการในการเลือกใช้ชนิดของปั๊ม
article process pump selection

ปัจจัยที่ต้องพิจารณาในการเลือกใช้ปั๊ม

  • คุณสมบัติของของไหล การกัดกร่อน (Corrosion, Chemical type) การเสียดสี (Erosion and abrasion) มีสารแขวนลอยมากน้อยแค่ใหน
  • ปริมาณความต้องการการไหล (Flow) ข้อจำกัดของปั๊มแต่ละตัว ใช้แบบคู่ขนาน (Parallel) เพื่อเพิ่มปริมาณความต้องการการไหล ได้หรือไม่
  • ความดัน (Pressure) ขาเข้า (Suction) ขาออก (Discharge) ข้อจำกัดของปั๊มแต่ละตัว ใช้ต่อปั๊มแบบอนุกรม (Series) เพื่อเพิ่มความดันได้ (Booster) ได้หรือไม่
  • อุณหภูมิ (Temperature) ขาเข้าและขาออกจากปั๊ม มีข้อจำกัดของปั๊มหรือไม่
  • ลักษณะของๆไหล มีแก๊ซปนเข้ามา (Gas contaminate) มีสารแขวนลอยเจือปน (Sediment) หรือไม่ ไหลสม่ำเสมอหรือไม่ (Steady flow)
  • ความหนืด (Viscosity) ของๆไหล
  • ความถ่วงจำเพาะ (Specific gravity) ของๆไหล
  • ขนาดของสารแขวนลอย (Sediment, particle)
  • การกัดกร่อน (Corrosion)
  • ระดับเสียงดัง (Noise) ที่รับได้
  • ท่อดูด (Suction) ระดับ ขนาดและความยาวท่อ
  • ท่อส่ง (Discharge) ระดับ ขนาดและความยาวท่อ ทนความดันได้
  • Dry priming ได้หรือไม่
  • NPSH ที่ต้องการ
  • การเกิด Cavitation
  • ประสิทธิภาพของระบบที่ต้องการ (Efficiency)
  • ค่าใช้จ่ายในการใช้งานและบำรุงรักษา (Operation and maintenance cost)
  • แหล่งพลังงานที่ขับ (Driver) ที่มีอยู่
  • การใช้งานหนักเบา ใช้ไม่ต่อเนื่องนานๆหรือใช้ๆหยุดๆ ใช้กลางแจ้งหรือในร่ม
  • การรั่วซึมของปั๊มที่ยอมรับได้
  • เดินเครื่องโดยไม่มีของไหลได้หรือใม่ (Run dry)
  • ชนิดของมอเตอร์ (Ex-proof or non ex-proof)
  • ความปลอดภัยในการใช้งาน

การเลือกใช้ปั๊มจะต้องกำหนดความดันและปริมาณการไหลที่ต้องการแล้ว จะต้องให้การออกแบบ (Design) ตรงกับมาตรฐานอุตสาหกรรมที่ยอมรับ (Design code and standard เช่น ANSI, API, ISO, JIS, DIN, NFPA เป็นต้น) และคำแนะนำที่ยอมรับในการออกแบบปั๊มอุตสาหกรรม (Industrial practices) ชนิดนั้นๆ

บริษัทไอคิวเอส มีวิศวกรที่มีความชำนาญในการเลือกชนิด (Type) ขนาด (Size) และกำลัง (Rating) ของปั๊มให้เหมาะสมกับงานนั้นๆ โดยได้รับการสนับสนุนด้านเทคนิคจากบริษัทผู้ผลิตปั๊ม สามารถให้คำปรึกษาแก่ลูกค้าได้ตลอดเวลา

บริษัทไอคิวเอส เป็นตัวแทนจำหน่ายปั๊มมากหลายชนิด (Wide range) ครอบคลุมการใช้งาน (Application) ในอุตสาหกรรมเกือบทุกชนิด เช่นปั๊มน้ำ ปั๊มขนส่งน้ำ ปั๊มเอพีไอ ปั๊มน้ำเสีย ปั๊มระบบอาหาร เป็นต้น เป็นปั๊มที่ระดับคุณภาพเป็นที่ยอมรับ มีการใช้งานแพร่หลายในอุตสาหกรรมต่างๆ ทั้งในต่างประเทศและในประเทศไทยเอง สินค้ามีให้เลือกหลายแบบ หลายการใช้งาน หลายแบรนด์ หลายราคา ให้ลูกค้าเลือกใช้ตามความเหมาะสมกับงาน นอกจากนี้บริษัทยังรับผิดชอบในบริการหลังการขายเพื่อให้ลูกค้าสบายใจในการเลือกใช้ปั๊ม

สนใจติดต่อ ขอคำปรึกษา ติดต่อ บ. อินทีเกรทเต็ด ควอลิตี้ เซอร์วิสเซส จำกัด